สุขภาพ

“ถ้าวันไหนที่หนูคิดฆ่าตัวตาย วันนั้นถึงจะยอมรับว่าเป็นโรคซึมเศร้า”

“ถ้าวันไหนที่หนูคิดฆ่าตัวตาย วันนั้นถึงจะยอมรับว่าเป็นโรคซึมเศร้า”

สุขภาพ

ครึ่งปีแรกของปี 2565 ข่าวการจบชีวิตตัวเองของของคนอายุน้อยในกลุ่มนักศึกษาไปจนถึงนักเรียนมัธยม กลายเป็นตัวเลขความสูญเสียรายวันที่ปรากฏขึ้นอย่างน้อย 5 รายแล้ว

ความเครียดจากการเรียนจนกลายเป็นซึมเศร้า ความรู้สึกแปลกแยกจากสังคมในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย แรงกดดันจากครอบครัว ภาวะความเจ็บป่วยทางใจในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่พูดกันมาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งได้กลายมาเป็นตัวเลขสถิติของคนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ

คงกล่าวไม่ได้ว่า เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องส่วนบุคคล เพราะมันอาจจะเกิดกับคนรอบตัวเรา เพื่อนพี่น้องที่มหาวิทยาลัย เพื่อนในโรงเรียน ที่ทำงาน หรือกระทั่งคนในบ้าน แต่แล้วเหตุใดช่วงวัยของผู้คนที่มีแนวโน้มฆ่าตัวตายสำเร็จ จึงลดลงเรื่อย ๆ มาสู่กลุ่มวัยคนรุ่นใหม่

ตัวเลขสถิติจากกรมสุขภาพจิต ชี้ถึงปัญหาการฆ่าตัวตายในช่วงปี 2560-2564 ว่ากลุ่มวัยเรียนและวัยทำงานตอนต้น มีแนวโน้มการฆ่าตัวตายสูงกว่าคนวัยทำงานถึง 4 เท่า ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลจากศูนย์ป้องกันการฆ่าตัวตายแห่งชาติ ระบุว่าเฉพาะปี 2564 มีกลุ่มวัยเรียน อายุ 15-24 ปี ฆ่าตัวตายสำเร็จถึง 439 คน